สพป.มุกดาหาร - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
ประชาสัมพันธ์ สพป.มุกดาหาร สพป.มุกดาหาร +(042) 611 532 office@mdh.go.th
หน้าแรก e-News ข้อมูลการติดต่อ เข้าสู่ระบบ

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

โพสต์เมื่อ : 13 ธ.ค. 2560 เวลา 01:23 น. IP: 106.0.172.184
แชร์ให้เพื่อน

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัย : นายวิทยา เสียงล้ำ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ หน่วยงานที่สังกัด : โรงเรียนบ้านป่าเตย อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีที่พิมพ์ : 2560

บทคัดย่อ

 

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100               โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ              ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD                เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนบ้านป่าเตย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ภาคเรียนที่ 1

ปีการศึกษา 2560 จำนวน 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD                       เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้แบฝึกทักษะคณิตศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 แผน (2) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10  ชุด (3)  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 เป็นแบบเลือกตอบ ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ

มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.38 ถึง 0.84 และ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86

(4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้

แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า

(Rating Scale) 3 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.82 

ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

 

 

ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้

 

  1. ผลการหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD                      

เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพ

เท่ากับ 79.75/79.21 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้

     2. ผลการหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD             เรื่อง การบวกและการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.6801 แสดงว่าผู้เรียน                  มีความก้าวหน้าทางการเรียน เพิ่มขึ้น 0.6801 คิดเป็นร้อยละ 68.01

    3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ                   เทคนิค STAD เรื่อง การบวกและการลบจำนวนที่มีผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 

              โดยสรุปการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การบวก

และการลบจำนวนนับที่ผลลัพธ์และตัวตั้งไม่เกิน 100 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเกณฑ์

ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และยังทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้

อยู่ในระดับมาก ซึ่งผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้

ข้อมูลการขับเคลื่อนคุณธรรมความโปร่งใส : 2566( ITA Online 2023)